ดาวโหลดสถานการณ์แรงงานไตรมาส 4 ปี 2552
คลิก => http://phitsanulok1.mol.go.th/pdf/42552.pdf
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดพิษณุโลก จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอภาวะการมีงานทำ การจ้างงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน การคุ้มครองแรงงานและการประกันสังคม ในภาพรวมของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจัดทำเป็นรายไตรมาส ฉบับนี้เป็นไตรมาส 4 ปี 2552 (ตุลาคม – ธันวาคม 2552) มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย / คาดการณ์ ภาวะการมีงานทำ คุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานในจังหวัดพิษณุโลกในภาพรวมประกอบการศึกษาแนวโน้มภาวะการทำงานของจังหวัดพิษณุโลก อันจะส่งผลต่อความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในจังหวัดพิษณุโลก
สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดพิษณุโลก ไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจ
สำนักงานคลังจังหวัดพิษณุโลก รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปี 2551p1 (ณ ราคาคงที่ ปี 2531) พบว่าอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) สาขาพืชผล ปศุสัตว์ และการป่าไม้ (ร้อยละ 22.12 ของ GPP) 2) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ฯ (ร้อยละ 19.07 ของ GPP) 3) สาขาอุตสาหกรรม (ร้อยละ 9.71 ของ GPP) ดัชนีผู้บริโภคของจังหวัดพิษณุโลก (มกราคม – ธันวาคม 2552) เท่ากับ 111.0 การจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ มีจำนวน 60 ราย ทุนจดทะเบียน 119.980,000.-บาท มีการจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรม 9 ราย เงินลงทุน 272,443,000.-บาท อุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุด คือ อุตสาหกรรมการเกษตร มีเงินทุน 212,400,000.-บาท สามารถเพิ่มแรงงานได้ 54 คน
สถานการณ์ด้านแรงงาน
ประชากรและกำลังแรงงาน จากข้อมูลภาวะการทำงานจังหวัดพิษณุโลก ของสำนักงานสถิติจังหวัดพิษณุโลก พบว่าประชากรผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมีจำนวน 683,959 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 498,341 คน ผู้มีงานทำ 493,922 คน ผู้ว่างงาน 3,857 คน
การมีงานทำ ผู้มีงานทำจำนวน 493,922 คน เป็นผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 287,116 คน หรือร้อยละ 58.13 (ของผู้มีงานทำ) ผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 206,806 คน หรือร้อยละ 41.87 ผู้ทำงานนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่ทำงานในสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ มากที่สุด จำนวน 80,145 คน คิดเป็นร้อยละ 27.91 ของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม รองลงมา คือการผลิต มีจำนวน 52,075 คน คิดเป็นร้อยละ 18.14 ที่เหลือทำงานอยู่ในสาขาอื่นๆ และผู้มีงานทำส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 162,636 คน คิดเป็นร้อยละ 32.93
การว่างงาน ผู้ว่างงานในจังหวัดพิษณุโลก ในไตรมาส 4 ปี 2552 (ณ ตุลาคม 2552) มีประมาณ 3,857 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.77 (ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน) และหากพิจารณาการว่างงานของเพศหญิงและเพศชายพบว่าอัตราการว่างงานของเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 0.59 ซึ่งน้อยกว่าเพศหญิงที่มีอัตราการว่างงาน คิดเป็นร้อยละ 0.99
แรงงานนอกระบบ (ข้อมูล ณ ปี 2551) สำหรับผู้ทำงานอยู่นอกระบบ มีจำนวน 304,059 คน ทำงานในภาคเกษตร 181,338 คน คิดเป็นร้อยละ 60.49 นอกภาคเกษตร 122,721 คน คิดเป็นร้อยละ 40.94 โดยอุตสาหกรรมที่มีแรงงานนอกระบบสูงสุด คือ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ มีจำนวน 42,589 คน คิดเป็นร้อยละ 14.21 รองลงมาคือ การโรงแรมและภัตตาคาร มีจำนวน 23,954 คน คิดเป็นร้อยละ 7.99 ที่เหลือทำงานอยู่ในสาขาอื่นๆ อาชีพที่มีการทำงานนอกระบบสูงสุด คือ ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง มีจำนวน 175,688 คน คิดเป็นร้อยละ 58.61 สำหรับการศึกษาของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 149,423 คน คิดเป็นร้อยละ 49.85
การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 (ตุลาคม – ธันวาคม 2552) นายจ้าง / สถานประกอบการ ได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 917 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน 1,260 คน และการบรรจุงานมีจำนวน 534 คน อัตราบรรจุงานต่อผู้ลงทะเบียนสมัครงาน คิดเป็นร้อยละ 39.53 ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุด คือมัธยมศึกษา มีความต้องการร้อยละ 29.99 (275 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรี มีความต้องการร้อยละ 22.14 (203 อัตรา) ระดับ ปวช. มีความต้องการร้อยละ 16.47 (151 อัตรา) ระดับ ปวส. มีความต้องการร้อยละ 15.70 (144 อัตรา) และระดับอนุปริญญาจำนวนร้อยละ 8.07 (74 อัตรา)อาชีพที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คืออาชีพพนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด คิดเป็นร้อยละ 21.37 ของตำแหน่งงานว่างทั้งหมด ส่วนอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 48.53 (445 อัตรา)
แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงานในจังหวัดพิษณุโลก ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2552 มีจำนวน 203 คน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว มีจำนวน 172 คน รองลงมาคือ ประเภทมาตรา 12 มีจำนวน 26 คน และประเภทส่งเสริมการลงทุน จำนวน 5 คน ส่วนแรงงานต่างด้าวประเภทตลอดชีพพบว่าไม่มี
สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชาในจังหวัดพิษณุโลก มีจำนวนทั้งสิ้น 1,091 คน พบว่า สัญชาติพม่า มีจำนวนมากที่สุดจำนวน 792 คน คิดเป็นร้อยละ 72.59 รองลงมาคือสัญชาติลาวและกัมพูชา จำนวน 195 คน และ 104 คน คิดเป็นร้อยละ 17.87 และ 9.53 ตามลำดับ
การพัฒนาศักยภาพแรงงานจังหวัดพิษณุโลก โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 9 พิษณุโลก (ข้อมูลระหว่าง เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2552) มีการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 122 คน กลุ่มอาชีพที่มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานสูงสุด คือ สาขาช่างอุตสาหกรรมศิลป์ มีจำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 22.13 รองลงมา คือช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 18.82
สำหรับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 426 คน โดยกลุ่มอาชีพที่ฝึกยกระดับฝีมือสูงสุด คือธุรกิจและบริการ จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 67.61 รองลงมา คือ กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์ มีจำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 14.55 มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 423 คน คิดเป็นร้อยละ 99.30 มีผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานทั้งสิ้น 252 คน สาขาที่เข้าทดสอบฝีมือมากที่สุด คือช่างก่อสร้าง มีจำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 65.48 รองลงมาคือสาขาธุรกิจและบริการ มีผู้เข้ารับการทดสอบ จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 23.81 มีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานครั้งนี้ จำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 88.10
การคุ้มครองแรงงาน จากการตรวจสถานประกอบการของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 131 แห่ง มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 2,910 คน สถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก คือ ต่ำกว่า 20 คน โดยสถานประกอบการร้อยละ 90.08 ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
สถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีร้อยละ 9.92เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน ที่มีสัดส่วนการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมากที่สุด คือร้อยละ 53.85 ของสถานประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
เรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมากที่สุด คือ เรื่องข้อบังคับมีร้อยละ 38.46 รองลงมาคือ วันทำงาน และค่าจ้างขั้นต่ำตามลำดับ
การตรวจความปลอดภัยในการทำงานมีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 75 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 3,559 คน พบว่าสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย จำนวน 63 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84 ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 16
การประกันสังคม ข้อมูล ณ ไตรมาส 4 ปี 2552 พบว่าจังหวัดพิษณุโลกมีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จำนวน 2,928 แห่ง ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 46,242 คน และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคม ที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาลทั้งหมด จำนวน 3 แห่ง
กองทุนประกันสังคม ข้อมูล ณ ไตรมาส 4 ปี 2552 มีเงินกองทุน 53,731,383.20 บาท จำนวนผู้ใช้บริการมีจำนวน 34,376 คน คิดเป็นร้อยละ 74.34 ของผู้ประกันตนทั้งหมด ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีจำนวน 27,381 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.65 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด สำหรับปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนพบว่าการจ่ายเงินกรณีคลอดบุตรมีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 13,606,704 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.89 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย